วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม


กระทรวงศึกษาธิการ.(2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
            กรุงเทพมหานคร : กระทรงศึกษาธิการ
ทิศนา แขมมณี. (2550)ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ที่มี
           ประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545).
           พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร :
           บริษัทพริกหวานกราฟฟิตจำกัด.

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการสร้างหน่วยการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการสร้างหน่วยการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถทำให้เด็กนักเรียนมีการพัฒนากระบวนการคิดและศักยภาพของตนเอง โดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ได้รู้ถึงการสร้างหน่วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ได้รู้ถึงการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
4. เข้าใจถึงการจัดการเรียนรู้ที่ต้องใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและต้องมีความหลากหลาย
5. เข้าใจถึงการจัดการเรียนรู้ที่ต้องยึดหลักสูตรแกนกลางเป็นหลักเพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
6. ได้รู้ถึงการสร้างหน่วยซึ่งต้องเน้นให้เหมาะสมกับวัยและศักยภาพที่นักเรียนมีอยู่และต้องรู้ว่าเด็กนักเรียนมีจุดอ่อนและจุดแข็งด้านใดและควรเสริมให้เต็มศักยภาพ
7. เข้าใจถึงการจัดการเรียนรู้ที่ต้องสร้างองค์ความรู้ให้กับตนเองมากที่สุดเพื่อสร้างให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
8. ต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่สามารถเชื่อมโยงในโรงเรียน ครอบครัวและชุมชนเพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน การสร้างหน่วยการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียน โดยมีการสร้างหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละวิชาและสามารนำหน่วยการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นนำมาบูรณาการกับวิชาอื่นๆให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละวัยและต้องนำไปปฏิบัติได้จริง

การแบ่งแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วย 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน

การแบ่งแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วย 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น                                                 เวลา 4 ชั่วโมง
แผนที่ 1 การเรียนรู้อุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น (บรรยาย)


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ธรรมชาติจำลองจากสวนถาด                                                     เวลา 10 ชั่วโมง
แผนที่ 1 ธรรมชาติจำลองจากสวนถาด (บรรยาย)
แผนที่ 2 ธรรมชาติจำลองจากสวนถาด (ปฎิบัติ)


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การประดิษฐ์ของใช้จากรกมะพร้าว                                             เวลา 10 ชั่วโมง
แผนที่ 1 การประดิษฐ์ของใช้จากรกมะพร้าว (บรรยาย)
แผนที่ 2 การประดิษฐ์ของใช้จากรกมะพร้าว (ปฎิบัติ)



หน่วยการเรียนร็ที่ 4 การเกษตรน่ารู้                                                                       เวลา 4 ชั่วโมง
แผนที่ 1 การเกษตรน่ารู้ (บรรยาย)



หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 อาชีพสุจริต                                                                           เวลา 4 ชั่วโมง
แผนที่ 1 อาชีพสุจริต (บรรยาย)



หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การเพาะเมล็ดต้นกล้าดาวเรื่องเพื่อนำไปจำหน่าย                          เวลา 4 ชั่วโมง
แผนที่ 1 การเพาะเมล็ดต้นกล้าดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่าย (บรรยาย)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การเพาะเมล็ดต้นกล้าดาวเรื่องเพื่อนำไปจำหน่าย

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การเพาะเมล็ดต้นกล้าดาวเรื่องเพื่อนำไปจำหน่าย
เวลาเรียน ๒ ชั่วโมง/ สัปดาห์



สาระที่๔ การอาชีพ
มาตรฐานการเรียนรู้ ง๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพครู


ตัวชี้วัดชั้นปี
1. ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ
2. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
3. เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ

สาระสำคัญ
           ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง
ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย
แหล่งปลูก ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ ในการเรียนรู้เรื่อง การเพราะเมล็ดต้นกล้าเพื่อนำไปจำหน่ายจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน การมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ และการเห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพ

สาระการเรียนรู้
1. ความสำคัญของอาชีพการเพราะกล้าดาวเรือง
2. ลักษณะของต้นดาวเรือง
3. แหล่งปลูกดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย
4. กระบวนการในการเพราะต้นกล้า
5. การดูแลรักษา
6. การเก็บเกี่ยว



สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2.ความสามารถในการคิด
3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4.ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ซื่อสัตย์สุจริต
2. อยู่อย่างพอเพียง
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. มีจิตสาธารณะ


ชิ้นงานและภาระงาน
1.มีการแบ่งกลุ่มในชั้นเรียนกลุ่มละ 5 คน กลุ่มหนึ่งต้องเพาะต้นกล้าได้กลุ่มละ 10ต้น กระถางหนึ่งใส่1ต้น
(การฝึกปฏิบัติ)
2.(ใบงานที่1)ในเรื่องของขั้นตอนการเพาะต้นกล้าต้นดาวเรืองจะมีการให้นักเรียนได้จัดทำเป็นผังมโนทัศน์
ที่สวยงาม มีการนำผลงานของนักเรียนมาจัดทำบอร์ดในชั้นเรียน
3.ให้นักเรียนได้จัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับเกษตรและการงานอาชีพภายในโรงเรียนนักเรียนได้เห็นคุณค่าใน
การสร้างอาชีพได้ต่อไป มีการจัดทำบัญชีในการจำหน่ายสินค้าด้วย (การฝึกปฏิบัติ)



การวัดและประเมินผล
การสร้างเกณฑ์และเครื่องมือวัดการประเมินพฤติกรรมของนักเรียนและการตรวจสอบชิ้นงาน
การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
1.สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนภายในชั้นเรียน
2.การปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน

การให้คะแนนในการปฏิบัติงาน
1. การตรวจชิ้นงานผังมโนทัศน์
2. ตรวจการเพาะต้นกล้าของดาวเรือง
3. ตรวจการจำหน่ายและบัญชีการจำหน่ายสินค้า



กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นทฤษฎี
1.เพื่อเข้าสู่บทเรียนถามนักเรียนเกี่ยวกับต้นดาวเรืองและการเพาะปลูก
2.ครูอธิบายเพิ่มเติม พร้อมทั้งแจกใบความรู้เกี่ยวกับต้นดาวเรืองและการเพาะปลูกต้นกล้า
3.มีการนำรูปภาพการเพาะต้นกล้าดาวเรืองมาประกอบการเรียนการสอนให้กับนักเรียน
4.สอนการจำหน่ายสินค้าและตัวอย่างการทำบัญชีการขายอย่างง่ายให้กับนักเรียน
5.บอกให้นักเรียนทราบว่าเราจะมาปฏิบัติการเพาะต้นกล้าดาวเรืองแล้วนำมาจำหน่ายพร้อมทั้งฝึกทำบัญชีในการขายด้วย
6.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันกลุ่มละ5คน แจกใบงานที่ 1 ให้นักเรียนและครูช่วยกันสรุปบทเรียนในครั้งนี้
7.ให้นักเรียนนำใบงานที่1 ไปทำเป็นการบ้าน แล้วนำมาส่งในอาทิตย์ต่อไป
ขั้นการปฏิบัติ
1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันกลุ่มละ 5คน
2.แบ่งหน้าที่กันทำจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
4.ช่วยกันลงมือปฏิบัติงานในการเพาะต้นกล้าดาวเรืองโดยใช้เมล็ด
3.ปฏิบัติงานร่วมกันโดยมีครูอยู่ด้วยตลอดในการสังเกตการปฏิบัติงานของนักเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง อาชีพสุจริต

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง อาชีพสุจริต
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์


สาระที่๔ การอาชีพ
มาตรฐานการเรียนรู้ ง๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพครู


สาระสำคัญ
           เรียนรู้ถึงการศึกษาในปัจจุบันว่าการศึกษาเพื่อหาความรู้ให้กับตนเองจะทำให้เกิดการพัฒนาของสติปัญา ตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง อีกประการหนึ่งการศึกษาทำให้สามารถเลือกแนวทางการประกอบอาชีพได้ต่อไปในอนาคฅ ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับด้านการประกอบอาชีพอย่างสุจริต ความสุจริตคือ ความประพฤติชอบ ความประพฤตดี มีความเมตตาและกรุณาพูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่นไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ในการประกอบอาชีพต้องมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพนั้นๆด้วย ดังเช่น อาชีพพนักงานฝ่ายปกครอง ต้องมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพของตนเองคือ มีความสามารถในการเป็นผู้นำ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่นและสากลตามกรอบของคุณธรรมจริยธรรมที่แตกต่างกัน และสามารถติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ , อาชีพพนักงานบัญชี มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพให้มีจริยธรรมและปัญญาธรรม ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าในเทคโนโลยี และการงานอาชีพ , อาชีพครู เจตคติคือมีความรัก ความศรัทธา ภูมิใจในวิชาชีพครู และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพครู มีจิตสำนึกในการพัฒนาตนเอง สังคม มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น


สาระการเรียนรู้
1. การสร้างอาชีพที่สุจริต
2. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพต่างๆ
3. ปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรม


คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ซื่อสัตย์สุจริต
2. มุ่งมั่นในการทำงาน
3. สร้างกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม

ภาระ/ชิ้นงาน
1. แบบทดสอบเป็นงานเดี่ยวให้นักเรียนทำชุดแบบทดสอบชุดที่ ๑ ในหัวข้อ อาชีพไหนที่ใช่เรา
ชุดที่ ๒ แบบทดสอบทายบุคลิก
2. งานกลุ่ม ให้ทำรายงานเรื่อง เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพต่างๆ มา ๔ อาชีพ

การวัดและประเมินผล
1. ชิ้นงานเดี่ยวมีเฉลยหลังจากทำแบบทดสอบทั้งสองชุดเสร็จ ว่านักเรียนมีบุคลิกภาพเป็นอย่างไรเหมาะสมกับอาชีพแบบไหนเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกที่จะประกอบอาชีพในอนาคตให้กับนักเรียน
2. งานกลุ่มประเมินจากการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม , รูปเล่มรายงานมีความสมบูรณ์มีเนื้อหาที่ครอบคลุม,
ส่งงานตรงเวลา


กิจกรรมการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบ ๒ ชุดที่ครูแจก พอทำแบบทดสอบทั้ง ๒ ชุดเสร็จครูก็จะแจกเฉลยให้กับนักเรียนเพื่อดูว่าตนเองมีบุคลิกภาพเป็นแบบใดและเหมาะกับอาชีพทางด้านใด
2. ให้นักเรียนจับกลุ่มๆละ 4-5 คน เลือกอาชีพที่สมาชิกในกลุ่มสนใจขึ้นมา 4 อาชีพ เขียนเป็นรายงานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเจตคติที่ดีต่ออาชีพนั้นๆ และให้ทรอดแทรกคุณธรรมที่อาชีพนั้นควรมีมาในรายงานด้วย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเกษตรน่ารู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเกษตรน่ารู้
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์



สาระที่๔ การอาชีพ
มาตรฐานการเรียนรู้ ง๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพครู
สาระที่๔ การอาชีพ

มาตรฐานตัวชี้วัด
1. อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
2. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
3. เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ

สาระสำคัญ
              อาชีพการเกษตรนับว่ามีความสำคัญมากที่สุดในประเทศไทยเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทำประมง เป็นต้น อาชีพการเกษตรยังเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ความถนัด ความชอบ ความสนใจ การประกอบอาชีพการเกษตรมักมีปัญหาหลายๆอย่าง เช่น สภาพภูมิอากาศ แรงงาน ทุน หากเราต้องการประกอบอาชีพทางการเกษตรให้ประสบผลสำเร็จจะต้องมีการพัฒนาอาชีพเกษตรให้มีมั่นคงและก้าวหน้าในผลผลิตที่ได้


สาระการเรียนรู้
1. หลักในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพการเกษตร
2. ปัญหาในการประกอบอาชีพการเกษตร
3. การพัฒนาอาชีพการเกษตร
4. อาชีพเกี่ยวกับการปลูกพืช
5. อาชีพการเลี้ยงสัตว์

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. อยู่อย่างพอเพียง
5. มีจิตสาธารณะ

ชิ้นงาน/ภาระงาน
1. มีใบงานเรื่อง ”ความรู้ทั่วไปเกี่ยวการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์”
2. มีใบงานเรื่อง” การแยกประเภทของพืชและสัตว์”
3. มีการทำแผนผังความคิด เรื่อง อาชีพทางการเกษตร เช่น การทำประมง การเพาะปลูก การทำเหมืองแร่ เป็นต้น


การวัดและประเมินผล
1. สังเกตจากการมีส่วนร่วมของนักเรียนแต่ละคนในการอภิปรายในชั้นเรียนและถามตอบกันในชั้นเรียน
2. การส่งงานหรือการทำรายงานโดยสังเกตจากการส่งงานจะต้องส่งตรงตามเวลาที่กำหนดและการทำรายงานมีรายละเอียดและรูปแบบของการทำรายงานที่สมบูรณ์และถูกต้อง
3. การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การเสนอความรู้ใหม่ๆในชั้นเรียน
4. ความมั่นใจในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า


กิจกรรมการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนยกตัวอย่างอาชีพที่สนใจมาคนละ 1 อาชีพ พร้อมบอกเหตุผลประกอบ
2. ให้นักเรียนจับกลุ่มละ 3 คน แสดงบทบาทสมมติในอาชีพที่อยากเป็นในอนาคต โดยใช้สื่อและอุปกรณ์ที่หาง่ายในท้องถิ่นของตนเองนำมาใช้ในการแสดงนี้
3. ให้นักเรียนสำรวจอาชีพในชุมชนของนักเรียนมาคนละ 1 อาชีพ โดยจะต้องเป็นอาชีพที่สุจริตและห้ามซ้ำกันในห้องเรียน ซึ่งจะมีแบบสัมภาษณ์ให้กับนักเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การประดิษฐ์ของใช้จากรกมะพร้าว

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การประดิษฐ์ของใช้จากรกมะพร้าว
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์



สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว

มาตรฐานตัวชี้วัด : มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการช้าพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ตัวชีวัด
1. วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน
2. ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
3. ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล


สาระสำคัญ
           มะพร้าว (Cocos nucifera Linn) อยู่ในวงศ์ Arecacaer มีชื่อสามัญว่า Coconut หลาย ๆภาคในประเทศไทยก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ต้นมะพร้าวเป็นไม้ยืนต้น สูงชะลูด 7–10 ส่วนต่าง ๆของต้นมะพร้าว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ผล กะลา ก้าน รกมะพร้าว กาบมะพร้าว และรากประเภทของรูปแบบผลิตภัณฑ์มะพร้าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรม มีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัสดุที่มาจากส่วนต่างๆ ของมะพร้าวงานประดิษฐ์มู่ลี่รกมะพร้าวเป็นงานด้านศิลปะหัตกรรมที่มีความสวยงาม รกมะพร้าวเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น การปนะดิษฐ์มู่ลี่รกมะพร้าวแสนสวยนั้นจะต้องมีการคัดเลือกวัสดุอุปกรณ์ และในแต่ละขั้นตอนจะต้องมีความปราณีตงานจึงจะออกมาสวยงาม ในกระประดิษชิ้นงานมู่ลี่ชิ้นนี้ จะช่วยในการเรียนรู้กระบวนการทำงานตามขั้นตอน ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และได้ชิ้นงานมาใช้เป็นประโยชน์

สาระการเรียนรู้
1. ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของต้นมะพร้าว ชื่อสามัญและชื่อเรียกในภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย
2. ลักษณะและส่วนประกอบของต้นมะพร้าว
3. ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของต้นมะพร้าวและงานหัตกรรมจากรกมะพร้าว
4. วัสดุอุปกรณ์การทำมู่ลี่รกมะพร้าวแสนสวย
5. การคัดเลือกวัสดุอุปกรณ์
6. วิธีประดิษฐ์มู่ลี่รกมะพร้าวแสนสวย


สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการแก้ปัญหา
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต


คุณลักษณะอันพึงในการทำงาน
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. อยู่อย่างพอเพียง
4. มุ่งมั่นการทำงาน
5. รักความเป็นไทย
6. มีจิตสาธาราณะ


ชิ้นงาน / ภาระงาน
1. ใบงาน 2 ฉบับ
1.1 ใบงานที่ 1 ผังมโนทัศน์ เรื่อง รกมะพร้าวสู่งานหัตกรรม
1.2 ใบงานที่ 2 การวางแผนออกแบบชิ้นงานและการประยุกต์ใช้ชิ้นงาน
2. มู่ลี่ 1 อัน/กลุ่ม


การวัดและประเมิณผล
โดยการสร้างเกณฑ์และเครื่องมือวัดการประเมิณพฤติกรรมของนักเรียนและการตรวจสอบชิ้นงาน
1. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
1.1 ความสนใจและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1.2 กระบวนการการทำงานกลุ่ม
1.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. การตรวจสอบชิ้นงาน
2.1 ความสวยงาม
2.2 การมีความคิดสร้างสรรค์
2.3 ความถูกต้องของใบงาน

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นทฤษฎี
1. ตั้งคำถามเกี่ยวกับต้นมะพร้าวเพื่อเข้าสู่บทเรียน
2. แจกใบความรู้เรื่อง ต้นมะพร้าวทุกส่วนมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด พร้อมอธิบายชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจ
3. นำภาพรกมะพร้าวของจริงมาให้นักเรียนดูแล้วตั้งคำถามว่ารกมะพร้าวมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับบทเรียนครั้งนี้
4. เฉลยว่า เราจะรกมะพร้าวมาทำมู่ลี่
5. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม เท่า ๆ กันแล้วช่วยกันอภิปรายว่า รกมะพร้าวมีความสำคัญอย่างไรกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ่มค่า
6. สรุปบทเรียนพร้อมทั้งแจกใบงานที่ 1 เรื่องรกมะพร้าวสู่งานหัตกรรม
ขั้นปฏิบัติ
1. ครูให้นักเรียนเข้ากลุ่มพร้อมทั้งแนะนำวัสดุอุปกรณ์ในการทำมู่ลี่
2. ให้นักเรียนทำชิ้นงานถ้าทำไม่เสร็จในคาบเรียนให้ไปทำเป็นการบ้านแล้วส่งในสัปดาห์ต่อไป
3. แจกใบงานที่ 2 การวางแผนออกแบบชิ้นงานและการประยุกต์ใช้ชิ้นงานส่งในสัปดาห์หน้าเช่นกัน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ธรรมชาติจำลองจากสวนถาด

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ธรรมชาติจำลองจากสวนถาด
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์


สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐานตัวชี้วัด : มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการช้าพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ตัวชี้วัด
1.วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงานอย่างชัดเจน
2. ใช้กระบวนการ การแสดงความคิดเห็นของการทำงานกลุ่ม
3. การตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อย่างมีเหตุผล

สาระสำคัญ
การจัดสวนถาด สวนหย่อม และภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีชีวิตชีวาและดูแลรักษาง่าย ผู้จัดต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฏี รู้วิธีการจัดละสามารถประปฏิบัติได้จริง ต้องรู้วิธีการจัดสวนให้เกิดความสวยงาม ได้แก่ การนำความงามของพืชพรรณกับความงาม ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้จัดสวนมาประกอบกัน ถูกต้องเหมาะสมตามสาระเรื่องราวจะทำให้ความงามของสวนปรากฏขึ้นมาเอง เพราะการจัดภูมิทัศน์ และการจัดสวนหย่อมจะต้องใช้ต้นไม้ และวัสดุอุปกรณ์จริง ซึ่งมีขนาดใหญ่ ฉะนั้นการเรียนวิชาการจัดสวน จึงเริ่มต้นด้วยการเรียน วิชาการจัดสวนถาด เพราะการฝึกจัดสวนถาดทำได้สะดวกกว่าการฝึกจัด ภูมิทัศน์และสวนหย่อม เนื่องจากต้นไม้และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ฝึกจัดสวนถาดมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา หาง่าย และราคาถูก จึงสะดวกต่อการฝึกจัดวางองค์ประกอบ ของสวนถาดให้เกิดความสวยงาม สะดวกต่อการฝึกซ้ำเพื่อให้เกิดความชำนาญ เมื่อมีความรู้และความเข้าใจ และความชำนาญในการจัดสวนถาด จึงเป็นการง่ายต่อการจัดสวนหย่อม และภูมิทัศน์ เพราะหลักวิชาการที่นำมาใช้จัดสวนถาด สวนหย่อม และการจัดภูมิทัศน์ ต่างใช้หลักวิชาการเดียวกัน จะต่างกันบ้างในเรื่องของ รายละเอียดเท่านั้นฉะนั้นความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดสวนถาด จึงเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งของการจัดสวนหย่อมและการจัดภูมิทัศน์

สาระการเรียนรู้
1.ความชำนาญในการจัดสวนถาด
2.วิธีการจัดสวนให้เกิดความสวยงาม
3.รูปแบบและวัสดุอุปกรณ์ที่เลือกใช้นำมาจัดสวนถาด
4.ฝึกจัดวางองค์ประกอบของสวนถาดให้เกิดความสวยงาม

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. มีความสามารถในการออกแบบสวนถาดตามรูปแบบที่ต้องการ
2. มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
3. เลือกใช้อุปกรณ์การจัดสวนถาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการทำงาน
1.ใฝ่เรียนรู้และตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง
2.มุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม
3.รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ชิ้นงาน / ภาระงาน
1.แบ่งกลุ่มกันจัดสวนถาด 3 กลุ่ม
1.1สวนถาด 1 อัน/กลุ่ม
2.ทำแบบฝึกหัดเรื่องการจัดสวนถาด

การวัดและประเมินผล
1.สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
1.1 การเอาใจใส่ต่อการเรียน
1.2 ความกระตือรือร้นในการทำงาน
1.3 ความเอาใจใส่ต่อชิ้นงาน
1.4 การออกแบบชิ้นงานที่จะทำ
2.การตรวจสอบ
2.1 ความถูกต้องของแบบฝึกหัด
2.2 ความสวยงานของชิ้นงาน
2.3 ความถูกต้องของชิ้นงาน พร้อมองค์ประกอบต่างๆ
2.4 ความคิดสร้างสรรค์

กิจกรรมการเรียนรู้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูจะเป็นคนอธิบายให้เด็กนักเรียนฟังเรื่องการจัดสวนถาด ว่าการจัดสวนถาดนั้นสามารถจัดอย่างไร และสวนถาดคืออะไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างให้เด็กฟัง เพื่อให้เด็กคิดตามแล้วจะสามารถเห็นภาพตามได้
2.ขั้นการเรียนรู้
ขั้นนี้จะเริ่มสอนเนื้อหาอย่างเน้นๆ โดยจะเริ่มเจาะเนื้อหาลึกลงไปถึงองค์ประกอบต่างๆของสวนถาด

3.ขั้นปฏิบัติงาน
ให้นักเรียนหัดจัดสวนถาดด้วยตนเอง โดยให้แบ่งกลุ่มกันเป็น 3 กลุ่มๆละ 5 คน โดยให้นักเรียนผึกจัดสวนถาด 1 ถาด/กลุ่ม
4.ขั้นสรุปผลการเรียน
สรุปผลการเรียนรู้ของเด็กจากผลงานที่เด็กทำ ตามเกณฑ์การทำงานที่เราได้กำหนดไว้ว่า จะให้คะแนนลักษณะสวนถาดที่มีองค์ประกอบครบถ้วนเท่านั้นที่จะได้คะแนนเต็ม รวมทั้งดูความสวยงามต่างๆของสวนถาดด้วย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์


สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐานตัวชี้วัด มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการช้าพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด
1.วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงานอย่างชัดเจน
2. ใช้กระบวการแสดงความคิดเห็นของการทำงานกลุ่ม
3. การตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อย่างมีเหตุผล

สาระสำคัญ
อุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้นได้แก่ ช้อนปลูก ส้อมพรวน คราด เสียม จอบ พลั่วมีลักษณะและวิธีใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่เราจะใช้ ถ้าหากว่าเรารู้ถึงวิธีใช้ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดความปลอดภัยในขณะที่ใช้อีกด้วย เมื่อใช้อุปกรณ์เหล่านี้เสร็จแล้วก็ควรดูแลรักษาอุปกรณ์ทางการเกษตรเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานที่สุดการเรียนรู้เรื่องอุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้นจะช่วยในการเรียนรู้กระบวนการทำงานตามขั้นตอน และการตัดสินใจในการแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล

สาระการเรียนรู้
1. ชื่อของอุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น
2. ลักษณะและวิธีใช้อุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น
3. ความปลอดภัยในการอุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น
4. วิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการคิด
2.ความสามารถในการแก้ปัญหา
3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.มีวินัย
2.ใฝ่เรียนรู้
3.มุ่งมั่นในการทำงาน
4.มีจิตสาธารณะ

ชิ้นงาน/ภาระงาน
1.ใบงาน 1 ฉบับ เรื่อง
2.กระดาษวาดเขียน1 แผ่น

การวัดและประเมินผล
โดยการสร้างเกณฑ์และเครื่องมือวัดการประเมินพฤติกรรมของนักเรียนและการตรวจสอบชิ้นงาน
1. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
1.1 ความสนใจและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. การตรวจสอบชิ้นงาน
1.1 มีความถูกต้องของใบงาน
1.2 มีความคิดสร้างสรรค์ในการวาดรูป

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นปฏิบัติ 1. มีการแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ5-6 คน แล้วแจกรูปอุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้นแล้วแบ่งกันดูภายในกลุ่ม
2. ครูอธิบายถึงชื่อของอุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น ลักษณะและวิธีใช้อุปกรณ์ทางการเกษตรความปลอดภัยในการอุปกรณ์และวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ในแต่ละรูป
3. ให้นักเรียนส่งตัวแทนภายในกลุ่มออกมาเลือกว่าตนเองชอบอุปกรณ์ชนิดใด แล้วมีวิธีใช้อย่างไร
4.แจกใบงานให้นักเรียนตอบคำถาม
5. แจกกระดาษวาดเขียนให้นักเรียนวาดรูปอุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น มาคนละ 1 รูป พร้อมทั้งเขียนชื่อของอุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น ลักษณะและวิธีใช้อุปกรณ์ทางการเกษตร ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์และวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ไว้ด้านหลัง แล้วมาส่งสัปดาห์หน้า

กระบวนการในการสร้างหน่วย

กระบวนการในการสร้างหน่วย


               ขั้นตอนกระบวนการการสร้างหน่วย ครูต้องคำนึงถึงกิจกรรมการเรียนการสอนให้เข้ากับบริบทของนักเรียน บริบทของครูผู้สอน และสถานศึกษาด้วย แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องสามารถบูรณาการการเรียนให้เข้ากับทุกสาระการเรียนรู้ไปตามหลักสูตรแกนกลาง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยมีการบูรณาการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร ดังนั้นสิ่งที่ครูต้องศึกษาก่อนการเขียนหน่วยการสอน คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ.2545 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา

กระบวนการการสร้างหน่วย มีขั้นตอนดังนี้
1.รายละเอียดของหน่วยการเรียนรู้
ในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ต้องบอกรายละเอียดที่สำคัญ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ หน่วยการสอน เรื่องที่สอน วัน เดือน ปี ที่สอน เวลาที่ใช้ในการสอน ชั้นที่สอน รายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้จะแตกต่างกันบ้าง
2.มาตรฐานตัวชี้วัด
ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดตัวชี้วัดชั้นปีของแต่ละมาตรฐานไว้อย่างชัดเจน ครูผู้สอนสามารถนำมาเป็นแนวทางในการสร้างหน่วยได้เป็นอย่างดี เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สาระที่6 ความสำคัญของการสร้างอาชีพ
มาตรฐาน ง 1.1 อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
การเขียนสาระสำคัญต้องสรุปความรู้ในเรื่องที่สอนอย่างครบถ้วนและสมบรูณ์ ต้องมีสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
4.สาระการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน จัดลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายากให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
5.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ในการจัดทำหน่วยการสอนนั้นครูผู้สอนต้องคำนึงถึงสิ่งที่นักเรียนจะได้รับจากการบูรณาการของเนื้อหาการเรียนให้เข้ากับคุณธรรม จริยธรรม ที่นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน เช่น ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
กระบวนการการสร้างหน่วยต้องคำนึงว่าสิ่งที่ได้จัดทำเป็นแผนการเรียนการสอนนั้นต้องมีการสอดแทรกคุณลักษณะที่ดีให้กับนักเรียนในการเรียน เพื่อให้นักเรียนได้คุ้นเคยและปฏิบัติจนเคยชิน
7.ชิ้นงานและภาระงาน
ในการเรียนการสอนสิ่งที่สำคัญ คือเนื้อหาการเรียนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ การสั่งชิ้นงานให้นักเรียนปฏิบัติก็ถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้จากวิชาเรียนว่านักเรียนสามารถทำงานได้หรือไม่จากการเรียนไป การทำหน่วยการสอนก็ต้องมีการกำหนดด้วยว่าชิ้นงานและภาระงานที่มอบให้นักเรียนปฏิบัติมีความสอดคล้องกับเนื้อหาในการสอนหรือไม่ การทำงานของนักเรียนสามารถฝึกให้นักเรียนได้เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรมในด้านใดบ้าง
8.การวัดและประเมินผล
ต้องมีการวัดให้ตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ บอกวิธีการวัดผล การใช้เครื่องมือในการวัดและเกณฑ์การประเมิน ดังนั้น ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านการวัดและประเมินผลเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสร้างเกณฑ์การประเมิน
9.กิจกรรมการเรียนรู้
ในกระบวนการการสร้างหน่วยต้องมีการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการสอนเพื่อให้ทราบว่านักเรียนควรได้ปฏิบัติกิจกรรมอะไรในการเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และสามารถนำมาปฏิบัติได้ในการปฏิบัติกิจกรรม
10.เวลาเรียน / จำนวนชั่วโมง
กระบวนการการสร้างหน่วย ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ว่ามีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอนหรือไม่ คิดว่าในหนึ่งเทอมสอนกี่ชั่งโมงเพื่อได้แบ่งเวลาให้กับกลุ่มสาระอื่นๆและเพื่อความเหมาะสมกับผู้เรียนด้วย

ความสำคัญ/ ความเป็นมา/ รายละเอียดของกลุ่มสาระและสาระที่ทำหน่วย

ความสำคัญ/ ความเป็นมา/ รายละเอียดของกลุ่มสาระและสาระที่ทำหน่วย


            การจัดทำหน่วยการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งสาระที่1 การดำรงชีวิตและครอบครัว และสาระที่4 การอาชีพ ซึ่งสาระทั้งสองนี้มีความสำคัญต่อวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีอย่างมาก แต่ละสาระการเรียนต้องเน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม มีทักษะกระบวนการแก้ไขปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น ต้องมีทักษะจำเป็นในการประกอบอาชีพและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ เป็นต้น แต่ละสาระก็มีความสำคัญแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดชั้นปีและระดับของผู้เรียน การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้องมีความสอดคล้องกับการทำแผนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพและศักยภาพในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

สารบัญ

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                หน้า


ความสำคัญ                                                                                                       1
กระบวนการสร้างหน่วย                                                                                        2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อุปกรณ์ทางการเกษตรเบื้องต้น                                                  4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ธรรมชาติจำลองจากสวนถาด                                                     6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การประดิษฐ์ของใช้จากรกมะพร้าว                                              9
หน่วยการเรียนร็ที่ 4 การเกษตรน่ารู้                                                                       12
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 อาชีพสุจริต                                                                           15
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การเพาะเมล็ดต้นกล้าดาวเรื่องเพื่อนำไปจำหน่าย                          17
แบ่งแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละหน่วย                                                                    20
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการสร้างหน่วย                                                            21

คำนำ

คำนำ


           รายวิชาการงานอาชีพฉบับนนนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการงานและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
          โดยเนื้อหาตรงตามสาระการเรียนรู้แกนกลางขั้นพื้นฐาน เนื้อหาจะช่วยพัฒนาผู้เรียนที่เป็นตามหลักสูตรและตัวชี้วัด เนื้อหาสาระแบ่งออกเป็นหน่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและประสบการที่ดีทางอาชีพ
         หากหน่วยการเรียนรู้ฉบับนี้มีข้อผิดพลาดแต่ประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

หน้าปก

หน่วยการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


จัดทำโดย
1. นางสาว กมลทิพย์ บัวแดง
2. นางสาวธนิตา จันทนไพรบรูณ์
3. นางสาวนริศา ประกอบศิลป์
4. นางสาวกฤติกา ทรัพย์แสนดี
5. นางสาวอลิษา เต่าทอง
6. นายเมธี ขันทอง



หน่วยการหน่วยการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นส่วนหนึ่งของวิชากลยุทธการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2553 ภาคเรียนที่ 1